การผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุคืออะไรและมีกระบวนการอย่างไร
ในการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุหรือรู้จักกันดีในชื่อการพิมพ์ 3 มิตินั้น เป็นการผลิตชิ้นส่วนที่มีขนาด รูปทรง และโครงสร้างที่หลากหลายที่สุด โดยนำวัสดุที่หลอมละลายได้มาขึ้นรูปเป็นชั้น ๆ ตามรูปแบบของข้อมูลการสร้างชิ้นงานดิจิทัล กระบวนการพิมพ์ 3 มิตินี้ยังรวมถึงการพิมพ์โลหะด้วยเลเซอร์พลังสูง (Selective Laser Melting - SLM) ระบบฉีดเส้นพลาสติก (Fused Deposition Modeling - FDM) และระบบ Binder Jetting ซึ่งจะทำให้สร้างต้นแบบชิ้นงานหรือชุดชิ้นงานขนาดเล็กได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และคุ้มราคา
เตรียมพร้อมอย่างดีที่สุดกับ KUKA เพื่อพิชิตความท้าทายทางด้านการผลิตแบบเติมเนื้อวัสดุ
ประสบการณ์อันยาวนานใน
อุตสาหกรรมโลหะและ
พลาสติก ความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างลึกซึ้งในการใช้งานเลเซอร์ และผลงานด้านผลิตภัณฑ์หลากประเภทตั้งแต่
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมไปจนถึง
หน่วยเชิงเส้น – KUKA ตอบสนองความต้องการที่สำคัญที่สุดนี้เพื่อผลลัพธ์อันเปี่ยมด้วยประสิทธิภาพสูงสุดได้จากกระบวนการพิมพ์ 3 มิติสำหรับอุตสาหกรรม
แม่นยำสูงสุดด้วยขอบข่ายที่ใหญ่ที่สุด : เดินหน้าทุกโปรเจกต์การพิมพ์ด้วยหุ่นยนต์ KUKA
ชิ้นส่วนขนาดกว่า 30 เมตร สำเร็จได้ด้วยกระบวนการผลิตเพียงครั้งเดียว หน่วยเชิงเส้นและหุ่นยนต์คอนโซล KUKA ขยายโอกาสด้านพื้นที่ให้กับการพิมพ์ 3 มิติอย่างกว้างขวาง และเปิดทางใหม่ให้กับการผลิตทางอุตสาหกรรม ด้วยขีดความสามารถที่สูงในด้านการเชื่อมพอกด้วยเลเซอร์และการนำหุ่นยนต์แม่นยำสูงอย่าง KR Quantec มาใช้งาน จึงทำให้มั่นใจว่าขั้นตอนการทำงานจะเป็นไปอย่างแม่นยำและให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงสุด
ใช้ความอเนกประสงค์ของพลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด : โครงสร้างรองรับ
การจัดการอย่างเชี่ยวชาญกับพลาสติกหลากหลายประเภททำให้โครงสร้างลวดลายละเอียดหรือมีความซับซ้อนสูงนั้นเป็นไปได้ : หากจำเป็น สามารถผลิตโครงสร้างรองรับขึ้นได้จากวัสดุผสมเฉพาะ เช่น พลาสติกละลายน้ำได้ ซึ่งจะนำไปใช้ในการขึ้นรูปวัสดุผลิตที่ต้องการต่อไป เมื่อพิมพ์สำเร็จก็สามารถทิ้งโครงสร้างรองรับนี้ได้โดยง่าย และส่วนที่เหลืออยู่ก็คือชิ้นงานที่ต้องการซึ่งตรงตามแนวคิดและความต้องการ