ก้าวข้ามขีดจำกัดของการพิมพ์ 3 มิติเชิงอุตสาหกรรม
การพิมพ์รูปทรงเรขาคณิตที่มีความซับซ้อนและส่วนประกอบที่สูงหลายเมตรนั้นแทบจะไม่สามารถทำได้เลยจนถึงปัจจุบันนี้ ปัจจุบัน เทคโนโลยีการผลิตแบบเติมชิ้นเนื้อวัสดุที่ใช้หุ่นยนต์ของ Caracol ได้ก้าวข้ามขีดจำกัดเดิมของการพิมพ์แบบ 3 มิติเชิงอุตสาหกรรมแล้ว เทคโนโลยีดังกล่าวปลุกให้เรือใบ "Beluga" นั้นมีชีวิตขึ้นมา
Caracol ทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ของ KUKA ทั้งหมดสี่ตัว หุ่นยนต์ KR QUANTEC มีหัวอัดรีดที่จดสิทธิบัตรสำหรับการพิมพ์แบบ 3 มิตินั้นน่าจะประทับใจอย่างมาก เนื่องจากมีความยืดหยุ่น ระบบดังกล่าวช่วยให้มีอิสระทางรูปทรงเรขาคณิตมากขึ้น จึงสามารถจัดการกับส่วนประกอบที่ทำมาจากวัสดุชนิดต่างๆ ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นได้ ในขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบกับโซลูชันแบบเดิม ระบบยังมีข้อได้เปรียบในด้านต้นทุน ความยั่งยืน เวลาในการผลิต และประสิทธิภาพอีกด้วย
การพิมพ์แบบ 3 มิติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย KR QUANTEC
โดยปกติแล้ว วิธีการทำเรือใบแบบดั้งเดิมต้องใช้แม่พิมพ์และวัสดุที่ยากต่อการรีไซเคิล เช่น ไฟเบอร์กลาส ระบบหุ่นยนต์ของ Caracol ซึ่งเป็นพันธมิตรของ KUKA ช่วยให้สามารถให้พิมพ์ลำเรือของเรือใบจากเม็ด MyReplast™ เป็นชิ้นเดียวได้ ซึ่งในกระบวนการดังกล่าว ของเสียจะลดลงและสามารถนำมาใช้งานต่อได้ วัสดุ MyReplast™ ที่ได้มาจากของเสียในกระบวนการเเปลงสภาพวัสดุเหลือใช้ (Upcycling) เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการนำพอลิเมอร์ที่รีไซเคิลมาใช้ในการผลิตส่วนประกอบขั้นสูงที่มีความต้องการประสิทธิภาพสูง
"Beluga" โดนปลุกให้มีชีวิตขึ้นมาในเวลาเพียงสี่สิบชั่วโมงเท่านั้น
โครงการเริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม 2021 ด้วยการเลือกวัสดุ การใช้งาน และการออกแบบของ "Beluga" เรือพิมพ์ขึ้นในเมืองโลมาซโซ ประเทศอิตาลีภายในเวลาเพียงสี่สิบชั่วโมงเท่านั้น พื้นผิวที่เรียบนั้นใช้มือในการทำในขั้นตอนหลังการผลิต ในเดือนสิงหาคม นักกีฬาสองคนจากสโมสรเรือยอชท์ Santo Stefano ได้แล่นเรือ "Beluga" ที่ทะเลสาบในทัสคานีเรียบร้อยแล้ว และยอมรับในคุณสมบัติที่ออกทะเลได้ของเรือ นับแต่นั้นจนถึง Milano Design Week ทาง Caracol ก็นำเสนอโครงการที่เป็นนวัตกรรมใหม่สุดในทุกปี
"Beluga" ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีและเข้าชิงรางวัล Boat Builder Award ในสาขาการคิดริเริ่มด้านสิ่งแวดล้ม (Environmental Initiative) อีกด้วย