การผลิตแบบอัตโนมัติด้วยเซลล์หุ่นยนต์สำหรับการฉีดพลาสติก
ไกลออกไปจากผลิตภัณฑ์ใช้แล้วทิ้ง มุ่งไปสู่การบริโภคที่คงทน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเมือง Reutlingen ได้ตั้งเป้าหมายนี้ขึ้นในการทำโครงงาน สิ่งที่ตามหาก็คือทางเลือกสำหรับช้อนส้อมใช้แล้วทิ้งตามงานนิทรรศการ ภายใต้การชี้นำของศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ Steffen Ritter ทำให้เกิดช้อนส้อมที่สามารถใช้ได้หลายครั้งจากพลาสติกคุณภาพสูงขึ้น ช้อนส้อมได้เติมเต็มความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องครัวและมีฟังก์ชั่นหลากหลาย อีกทั้งยังทนทาน การผลิตสำหรับ Gindele GmbH ในพื้นที่ใกล้เมือง Pforzheim ทางตอนใต้ของประเทศเยอรมนี จะถูกทำให้เกิดขึ้นด้วยเซลล์หุ่นยนต์สำหรับการฉีดพลาสติก
หุ่นยนต์สำหรับเครื่องจักรฉีดพลาสติกดูแลผลิตภัณฑ์จำนวนมากและแนวการผสมผสาน
จากโครงงานมหาวิทยาลัย ตอนนี้กลายเป็นโครงงานที่ประสบความสำเร็จ ความต้องการช้อนส้อมใช้หลายครั้งเพิ่มสูงขึ้นและต้องเพิ่มปริมาณการผลิตมากขึ้น Steffen Ritter กล่าวว่า “สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนและจำนวนมากแบบนี้ การผลิตจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างอัตโนมัติ“ ดังนั้น มหาวิทยาลัย Reutlingen ได้ร่วมมือกับ Gindele GmbH robomotion GmbH และ KUKA และแสดงให้เห็นว่า เซลล์ “เฟล็กโซบ็อท (flexobot)“ ในโลกการผลิตของกิจการการฉีดพลาสติกทำงานอย่างไร
ระบบการทำให้เป็นอัตโนมัติที่ยืดหยุ่นสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติก
พลาสติกคุณภาพสูงจะถูกเทลงในเครื่องจักรการฉีดพลาสติกที่ Gindele ในแม่พิมพ์ช้อนส้อมที่ต้องการ เซลล์หุ่นยนต์ เฟล็กโซบ็อทความยืดหยุ่นสูง ของบริษัท robomotion ทำหน้าที่ทั้งด้านการจัดการเครื่องจักรฉีดพลาสติก รวมทั้งด้านการดำเนินการแปรรูปที่ซับซ้อน ซึ่งรวมไปถึงการกำจัดช่องว่าง การตรวจเช็คคุณภาพผ่านระบบการมองเห็นและการติดตั้งซ่อมแซม ในเซลล์ หุ่นยนต์ KUKA ถูกติดตั้งสำหรับเครื่องจักรการฉีดพลาสติกจากซีรี่ส์ KR AGILUS ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจที่สำคัญของระบบ
เซลล์หุ่นยนต์สำหรับการฉีดพลาสติกทำให้กระบวนการทำงานที่ซับซ้อนเสร็จสิ้น
การทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และเครื่องจักรเครื่องมือ เช่นกันกับเครื่องจักรฉีดพลาสติก ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูง ด้วยแกนหกแกน KR AGILUS จึงมีความยืดหยุ่นสูงมากและยังสามารถจับชิ้นส่วนที่ซับซ้อนได้อย่างปลอดภัยเช่นกัน หุ่นยนต์สำหรับเครื่องจักรฉีดพลาสติกจะนำช้อนส้อมที่ทำการเทขึ้นรูปเสร็จเรียบร้อยแล้วออกและนำไปทำการทดสอบด้วยระบบการมองเห็น เนื่องจากชิ้นส่วนนั้นยังร้อนมาก ชิ้นส่วนนั้นจึงถูกนำไปการเพื่อปล่อยให้เย็นตัวลงก่อน หลังจากที่เย็นตัวลงแล้ว หุ่นยนต์จะทำการหยิบชิ้นส่วนนั้นอีกครั้งและกำจัดช่องว่างออก ดังนั้นจึงมีการติดตั้งหุ่นยนต์ KUKA ด้วยมือจับที่พิมพ์ออกมาแบบ 3D
โซลูชั่นการทำให้เป็นอัตโนมัติแบบเฟล็กโซบ็อททำให้เพิ่มความสามารถในการเจาะฐานการผลิตได้
จากผลลัพธ์ของการผลิต Matthias Gindele มีความพึงพอใจอย่างมาก: “ด้วยเซลล์หุ่นยนต์สำหรับการฉีดพลาสติก เราจึงมีแนวการผลิตที่สูง ต่อเนื่องจากการทำงานของเครื่องจักรฉีดพลาสติก ตัวอย่างนี้แสดงให้เห็นว่าเราสามารถทำงานที่มีความซับซ้อนสูงให้เป็นอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ได้อย่างไร“ Gindele ได้เผยให้เห็นถึงความยืดหยุ่น เนื่องจากด้วยเซลล์หุ่นยนต์ ทำให้สามารถใช้ในโครงงานหลากหลายแบบได้ โซลูชั่นการทำให้เป็นอัตโนมัติแบบเฟล็กโซบ็อทยังมีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับจำนวนการผลิตที่น้อย