โซลูชั่นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ (HRC) ในการผลิตที่ BMW
พนักงานที่ BMW Group Plant Dingolfing มีผู้ช่วยใหม่ที่ตอบสนองไว หุ่นยนต์ที่ช่วยแบ่งเบาภาระในงานหนักที่จำเจโดยเฉพาะ คือ: หุ่นยนต์น้ำหนักเบา LBR iiwa
ภารกิจ
ความท้าทายเป็นพิเศษของแนวคิดระบบดังกล่าวก็คือ มีพื้นที่น้อยให้โครงสร้างแบบ HRC ต้องใส่เข้าไปได้พอดีกับสายการผลิตที่มีการติดตั้งเฟืองดิฟเฟอเรนเชียลช่วงล่างหน้าสำหรับซีรี่ส์แตกต่างกันไปที่ใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ
โซลูชั่น
โซลูชั่นที่พัฒนาขึ้นโดย KUKA Systems: โครงสร้างแบบโครงเหล็กที่บางเฉียบในรูปแบบของแขนบูม ซึ่งมีหุ่นยนต์ LBR iiwa หนึ่งตัวยึดติดอยู่ โซลูชั่นนี้จะประหยัดพื้นที่ เนื่องจากหุ่นยนต์โครงสร้างเบาที่ตอบสนองไวสามารถทำงานในลักษณะที่แขวนห้อยอยู่ ไม่จำเป็นต้องใช้เซ็นเซอร์ภายนอก เนื่องจากหุ่นยนต์ LBR iiwa มีระบบเซ็นเซอร์แรงบิดข้อต่ออยู่ในเพลาแต่ละตัวทั้งเจ็ดชุด นอกจากนี้ มือจับยังถือเป็นปลายแขนกลของหุ่นยนต์ที่มีปลอกหุ้มแบบ HRC ทรงมนไม่มีขอบเพื่อให้สามารถทำงานร่วมมือกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ได้และคนงานจะได้รับการป้องกันจากการได้รับบาดเจ็บตลอดเวลา แม้แต่ตู้ควบคุมขนาดกะทัดรัดก็ยังใส่เข้าไปในสายการผลิตที่มีอยู่ได้ อีกทั้งยังมีอินเตอร์เฟสสำหรับการควบคุมระบบ มนุษย์และหุ่นยนต์จะร่วมมือกันติดตั้งตัวเรือนดิฟเฟอเรนเชียลสำหรับเฟืองดิฟเฟอเรนเชียลช่วงล่างหน้าได้ในเวลาไม่กี่วินาที
เราจะพบเห็นการประยุกต์ใช้งานดังกล่าวในอุตสาหกรรรมยานยนต์มากขึ้นในอนาคต ในยุคของรุ่นที่มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น การปรับการผลิตให้เหมาะกับประโยชน์ในการใช้งานที่ต้องการถือเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ชัดเจน ด้วยการใช้หน่วยการทำงานแบบ HRC เป็นต้น