โซลูชั่นการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ (HRC) ช่วยแบ่งเบาภาระพนักงานในการประกันคุณภาพ
บริษัท MRK-Systeme GmbH ได้พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านโซลูชั่นอุตสาหกรรมที่มีมนุษย์กับหุ่นยนต์ร่วมมือกัน บริษัทนี้ได้พัฒนาโซลูชั่นด้านออโตเมชั่นที่สามารถทำได้โดย HRC ด้วยหุ่นยนต์ของ KUKA จากซีรีส์ KR QUANTEC สำหรับการประกันคุณภาพของตัวเรือนเพลาข้อเหวี่ยงเพื่อ BMW Group
โรงงาน BMW Group Plant Landshut คงโรงหล่อโลหะเบาที่ทันสมัยที่สุดในโลกเอาไว้ ที่นี้จะผลิตตัวเรือนเพลาข้อเหวี่ยงไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์แบบ 3 สูบ, 4 สูบ หรือ 6 สูบ สำหรับรุ่นต่างๆ มากมายของกลุ่มรถ BMW ถึงแม้ว่า ไม่สามารถที่จะทำให้การประกันคุณภาพของตัวเรือนเพลาข้อเหวี่ยงทำงานอัตโนมัติได้อย่างสมบูรณ์ เพราะยังต้องได้รับการฝึกอบรมจากพนักงานอยู่ ตัวเลือกตกไปที่โรงงาน ในที่ซึ่งมนุษย์และหุ่นยนต์ทำงานด้วยกันโดยตรง บริษัท MRK-Systeme จึงได้รับมอบหมายสำหรับการเปลี่ยนรูปอย่างน่าไว้ใจ “การทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์รับผิดชอบต่อ การแบ่งเบาภาระด้านสรีรศาสตร์ ของพนักงานจาก BMW“ Michael Mohre ผู้รับผิดชอบสำหรับสาขาการดำเนินการที่บริษัท MRK-Systeme GmbH อธิบาย เป็นเวลานานกว่าหนึ่งปีครึ่งแล้วที่สายการผลิตใน Landshut มีแอปพลิเคชั่นสองเครื่องเหมือนกันพร้อบกับหุ่นยนต์ของ KUKA จาก ซีรีส์ KR QUANTEC ของ รุ่น KR 210 R2900 prime K - ของการดำเนินการของคอนโซลหนึ่งตัวบนแอปพลิเคชั่นแต่ละเครื่อง พนักงานหนึ่งคนจะควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ด้วยจอยสติก เพื่อตรวจสอบปัญหาของชิ้นส่วนประกอบในลักษณะท่าทางที่สะดวกสบาย
การควบคุมหุ่นยนต์ช่วยเหลือในขั้นตอนการตรวจสอบ
ตัวเรือนเพลาข้อเหวี่ยงที่ผลิตแล้วทั้งหมดจะถูกลำเลียงเข้าไปในพื้นที่ดำเนินงานผ่านสายพานลำเลียง ชุดควบคุมหุ่นยนต์ที่้ซ้อนทับกันจะเลือกโปรแกรมที่สอดคล้องกันกับการควบคุมการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ที่ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของโครงสร้าง คนนจะควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านั้นด้วยจอยสติก ขณะเดียวกัน หุ่นยนต์จะเคลื่อนไหวบนสายพานที่กำหนดไว้ไปยังตัวเรือน จากนั้นจะปิดมือจับและยื่นชิ้นส่วนประกอบให้แก่คนงาน ผู้ที่ตรวจสอบปัญหาของตัวเรือนข้อเหวี่ยงด้วยหลอดไฟฟ้าฟลูออเรสเซนต์ ในระหว่างนั้น หุ่นยนต์จะถือชิ้นส่วนประกอบที่มีน้ำหนักราวๆ 30 กก. ไว้อย่างมั่นคงในระดับความสูงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับพนักงาน เมื่อคนงานเสร็จสิ้นในขั้นตอนการตรวจสอบแล้ว เขาจะขับเคลื่อนหุ่นยนต์ร่วมกับตัวเรือนกลับไปยังสายพานลำเลียง และวางตัวเรือนลง ขั้นตอนการตรวจสอบแบบโต้ตอบจะเสร็จสมบูรณ์ด้วยการกดปุ่ม ซึ่งด้วยปุ่มนี้พนักงานจะบันทึกว่าชิ้นส่วนประกอบนั้น “ผ่าน” หรือ “ไม่ผ่าน”
ผลตอบรับเป็นในแง่บวกมาโดยตลอด สามารถรักษารอบเวลาไว้ได้ และงานสำหรับพนักงานก็สะดวกสบายกว่าอย่างเห็นได้ชัด
วางแผนการแผ่ขยายระบบที่มีอยู่แล้ว
ระบบทั้งสองนี้ได้นำมาใช้งานอย่างประสบผลสำเร็จตั้งแต่ปี 2015 ปัจจุบันนี้ Mohre และเพื่อนร่วมงานของเขากำลังดำเนินการด้านการพัฒนาของระบบต่อไป เพื่อสร้างสถานที่ตรวจสอบสำหรับการประกันคุณภาพเพิ่มเติมอีกสองสถานนีในอนาคต