เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:

หุ่นยนต์บรรทุกสินค้าหนัก KR titan ที่ Rosenbauer

หุ่นยนต์บรรทุกสินค้าน้ำหนักมากขนาดใหญ่ ศูนย์ตัดด้วยเครื่องจักรกลที่ล้ำสมัย โซลูชันระบบอัตโนมัติที่ปรับแต่งได้: ล้วนเป็นสิ่งที่ซัพพลายเออร์สินค้าดับเพลิง Rosenbauer ได้ร่วมมือกับ KUKA, Promot และ Hermle เพื่อปรับให้การผลิตเหมาะสมสำหรับอนาคต


หุ่นยนต์ขนาดใหญ่นั้นดูเหมือนจะใหญ่โตยิ่งกว่าเดิมเมื่ออยู่ในห้อง KR titan ที่ล้อมรอบไปด้วยกองพาเลทหยิบจับพาเลทที่มีส่วนประกอบต่างๆ ป้อนเข้าในศูนย์การกัดและกลึงที่เชื่อมต่ออยู่ แล้วนำชิ้นส่วนที่เสร็จแล้วออกมาอีกครั้ง ตัวอย่างเช่น ชิ้นส่วนปั๊มหรือชิ้นส่วนแชสซีที่มีความซับซ้อนสูงจะได้รับการกัดหรือกลึงในศูนย์ดังกล่าว ในระหว่างนั้น KR titan จะจัดเรียงพาเลทใหม่ตามลำดับที่เหมาะสมที่สุด ถึงแม้ว่าหุ่นยนต์จะมีขนาดใหญ่มาก แต่ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและเงียบจนน่าประหลาดใจ และทุกขั้นตอนก็ดำเนินการด้วยระบบอัตโนมัติล้วน โดยหุ่นยนต์ในพื้นที่การผลิตของซัพพลายเออร์สินค้าดับเพลิงจากเมืองเลออนดิง Rosenbauer จะทำงานก็ต่อเมื่อผู้คนออกไปแล้ว การที่ระบบดำเนินไปอย่างราบรื่นเป็นเวลากว่าสองสามสัปดาห์นั้นนั้นเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันอย่างสมบูรณ์แบบของหลายๆ บริษัท

© Rosenbauer International AG

แผนการใหญ่ แต่พื้นที่ไม่เอื้ออำนวย

ก่อนหน้านี้เครื่องกัดและกลึงเคยตั้งอยู่ในจุดเดิมมาโดยตลอด Michael Schöftner หัวหน้าฝ่ายผลิตเครื่องจักรที่ Rosenbauer อธิบายว่าไม่มีตัวเลือกใดเข้ามาแทนที่ หลังจากผ่านไป 14 ปีก็มี “ปัญหาจุกจิก” มากขึ้นเรื่อยๆ และการซ่อมแซมก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน “เราใช้งานและผลิตอย่างเต็มที่ ซึ่งในมุมมองของผม ผมมองว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำงานในกะที่สามโดยไร้คนควบคุม ในขณะเดียวกัน กลุ่มส่วนประกอบของเราก็ขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะชิ้นส่วนแชสซีที่ยากต่อการผลิตในเครื่องเก่า”

KUKA KR titan ที่ Rosenbauer

การจ้างบุคคลภายนอกให้ผลิตนั้นไม่ใช่ทางเลือก: ชิ้นส่วนที่ซับซ้อนจำนวนมากเป็นข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความชำนาญอย่างแท้จริงและ Rosenbauer ก็ไม่สามารถบุคคลภายนอกให้ผลิตชิ้นส่วนเหล่านั้นได้ แต่ตรงกันข้าม ส่วนประกอบของรถฉุกเฉินจากซีรีส์ RT ใหม่ถูกเพิ่มเข้ามา และชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ก่อนหน้านี้กัดและกลึงจากภายนอกเนื่องจากเหตุผลด้านขนาดก็ต้องนำกลับเข้ามากัดและกลึงที่บริษัทในตอนนี้
เห็นได้ชัดตั้งแต่เริ่มว่าเรามีปัญหาด้านพื้นที่ พื้นที่ติดตั้งสูงสุดประมาณ 6 x 6 เมตรขัดขวางแผนการที่ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ในใจของ Michael Schöftner เขาต้องการเครื่องจักรที่สามารถจัดการชิ้นส่วนขนาดใหญ่ได้อย่างราบรื่นและเขาต้องการระบบอัตโนมัติที่ผสมผสานหุ่นยนต์และกลุ่มพาเลทที่มีพาเลทจับยึด 15 พาเลทในสองขนาดที่แตกต่างกันเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถทำงานกะที่สามได้โดยไม่ต้องมีคนควบคุม รายการซื้อของจึงยาวขึ้นตามลำดับ

KR titan ในขณะทำงานที่ Rosenbauer

หัวใจดวงใหม่ของการผลิต

การตัดสินใจซื้อเครื่องกัดและกลึงของ Hermle นั้นเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว “ผมต้องการ Hermle มาเป็นสิบปี” Michael Schöftner อธิบายว่า “ขนาดและประเภทได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการใช้งานของเรา” นอกจากนี้ยังมีผลตอบรับเชิงบวกจากบริษัทซัพพลายเออร์ที่สนับสนุนให้เขาเลือกอีกด้วย
สุดท้ายแล้วก็คือ C52U-MT ซึ่งเป็นศูนย์ตัดด้วยเครื่องจักรกลที่สามารถตัดส่วนประกอบได้ถึงขนาด 1000 x 1100 x 750 มม. จากคำอธิบายของ Schöftner สามารถมั่นใจได้ถึง “ความถูกต้องของขนาดระดับสูงและคุณภาพพื้นผิว”

เครื่องกัดและกลึงของ Hermle

ตัวเครื่องมีแกนหมุนเครื่องมือที่หมุนได้ 14,000 รอบต่อนาที, ชุดจัดเก็บเครื่องมือพร้อมเครื่องมือ 302 ชิ้นและตัวจับยึด HSK100, ระบบจ่ายน้ำหล่อเย็นภายใน ที่สามารถตั้งโปรแกรมจ่ายน้ำหล่อเย็นอยู่ที่ 10-80 บาร์ได้อย่างต่อเนื่อง, หัววัด และระบบควบคุมรูปแบบจาก Blum นอกจากนี้ยังมีระบบซอฟต์แวร์ตรวจสอบข้อมูลของ Hermle สำหรับการสื่อสารอย่างต่อเนื่องและขอสถานะเครื่องทั้งหมดอีกด้วย

Michael Schöftner ใช้เวลานานมากในการพูดคุยเรื่องการลงทุนด้านการผลิตเครื่องจักรกลที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมากับคณะกรรมการบริหารของ Rosenbauer เขาใส่ข้อมูลการคำนวณเกี่ยวกับROI และกรณีศึกษาทางธุรกิจลงในโฟลเดอร์จำนวนมาก โดยแยกรายการแต่ละองค์ประกอบ และในที่สุดก็ระบบอัตโนมัติแบบกำหนดเองก็มีความก้าวหน้าแล้ว

ระบบแบบที่ผมจินตนาการไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะระบบที่มีพื้นที่จำกัดมากขนาดนี้ ดังนั้นผมจึงใช้อิสระในการออกแบบระบบอัตโนมัติแบบกำหนดเองสำหรับเราเอง

Michael Schöftner หัวหน้าฝ่ายการผลิตเครื่องกลที่ Rosenbauer

ยักษ์ใหญ่ในห้องขนาดจิ๋ว

ตอนนี้ถึงเวลาของระบบอัตโนมัติแล้ว สิ่งที่เขาทำมีศักยภาพในการกลายเป็นตำนานตัวน้อยของ Rosenbauer: เขาและลูกชายคือ “ผู้สร้างเทคโนโลยีเลโก้ที่น่าสนใจ” เขานั่งลงในห้องขนาดเล็กและต่อหุ่นยนต์ KUKA และพาเลทขนาดเล็กอีกสองสามชิ้นขึ้นจากเลโก้ ซึ่งกลายเป็นพื้นฐานสำหรับการร่างแบบครั้งแรก และมีความใกล้เคียงกับการใช้งานจริงอย่างน่าอัศจรรย์
ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าจะเป็นหุ่นยนต์ของ KUKA ในการค้นหาหุ่นยนต์ที่สามารถเคลื่อนย้ายพาเลทที่มีน้ำหนักมากถึง 900 กิโลกรัมในพื้นที่จำกัด และในขณะเดียวกันก็มีระยะยืดถึงหลายเมตร ในไม่ช้า Michael Schöftner ก็ลงเอยที่ KR titan ซึ่งเป็นโมเดลที่ใหญ่ที่สุดของ KUKA KR titan 1000 เป็นหุ่นยนต์บรรทุกสินค้าหนักแบบหกแกนตัวแรกที่มีการเคลื่อนไหวแบบเปิดและมีน้ำหนักบรรทุกสูงถึง 1,300 กก.

ไม่ออกจากชั้นวาง

เส้นทางต่อได้ช่วยนำพา Schöftner ให้ได้เจอกับผู้เชี่ยวชาญจาก Promot ซึ่งเคยมีประวัติร่วมกันมาก่อนเกี่ยวกับเรื่องนี้ Rosenbauer ชื่นชมในโซลูชันที่ปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละโครงการของบริษัทจากออสเตรียตอนบนมาอย่างยาวนาน เนื่องจากความต้องการที่ซับซ้อน โซลูชันระบบอัตโนมัติแบบ “ออกจากชั้นวาง” จึงไม่ใช่ทางเลือก หลังจากการประชุมประสานงานกับ Hermle, KUKA และ Promot หลายครั้ง ในที่สุดก็มีการพัฒนาโซลูชันที่กำลังดำเนินการอยู่ในเลออนดิง

เราโฟกัสไปที่ KUKA KR 1000 titan ในรุ่นมาตรฐานแบบหกแกนเป็นหลัก เนื่องจากขนาดพาเลท หุ่นยนต์บรรทุกสินค้าหนักจึงมีน้ำหนักบรรทุก “เพียง” 850 กิโลกรัมและระยะยืดถึง 4 เมตรเท่านั้น ยักษ์ใหญ่ตัวนี้เป็นองค์ประกอบหลักในการขนส่งของ Promot Palmaster โดยในยักษ์ใหญ่ตัวนี้สามารถจัดเก็บพาเลทชั่วคราวได้ถึง 15 พาเลท และเกณฑ์สำคัญก็คือพาเลทที่มีขนาดต่างกันสองขนาด องค์ประกอบที่สามในชุดคือ Hermle C52-UMT ชิ้นส่วนที่ยึดอยู่บนพาเลทจะถูกป้อนไปยัง Palmaster ผ่านสถานีตั้งค่า KR titan จะรับและส่งต่อไปยังศูนย์ตัดด้วยเครื่องจักรกล โดยใช้ประโยชน์จากระยะยืดที่ยาวอย่างเต็มที่ เมื่อตัดด้วยเครื่องจักรกลเสร็จสิ้น หุ่นยนต์จะหยิบพาเลทขึ้นมาอีกครั้งและนำไปจัดวาง เปลี่ยนใหม่ หรือนำออก โดยหุ่นยนต์จะดึงส่วนประกอบออกมาซ้ำๆ ตัดในเครื่องจักรกล แล้ววางลงอีกครั้งตามลำดับความสำคัญ

กระบวนการทั้งหมดจะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์โฮสต์ Prosys 3.1 ซึ่ง Promot เป็นผู้พัฒนาขึ้นเองมาอย่างยาวนาน นอกเหนือจากลำดับแล้ว ซอฟต์แวร์ยังจัดการโปรแกรม NC ทั้งหมด คำนวณการใช้เครื่องจักรรวมถึงความสมดุลของเครื่องมือ และจัดการอุปกรณ์จับยึดในระบบอีกด้วย Michael Schöftner กล่าวว่า “ตอนนี้เราสามารถทำงานในกะที่สามโดยไม่ต้องมีคนควบคุมได้แล้วจริงๆ ซึ่งรับประกันการครอบคลุมสูงสุด และเราสามารถรองรับปัญหาคอขวดในสายการประกอบได้เป็นอย่างดี ผมไม่ต้องโน้มน้าวใครเกี่ยวกับระบบอัตโนมัติและวิทยาการหุ่นยนต์ แต่ขนาดนั้นสำคัญมาก การที่บริษัทไว้ใจให้ผมลงทุนด้วยเงินจำนวนนี้ถือเป็นเรื่องที่ปกติ”

การทำงานร่วมกันระหว่าง Rosenbauer, KUKA, Hermle และ Promot

ขั้นตอนการดำเนินการ

Michael Schöftner เน้นย้ำว่าความเป็นไปได้ของระบบ หุ่นยนต์ และเครื่องจักรนั้นยังห่างไกลจากการใช้งานอยู่มาก “แต่เราต้องการที่จะเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตด้วยเช่นกัน” และแน่นอนว่ายังมีงานอื่นๆ ให้ต้องทำอีก ปัจจุบัน Schöftner มีอีกสองโครงการในใจ “และแน่นอนว่าผมจะติดต่อคนเดิมอีกครั้ง”

ค้นหาพันธมิตรระบบของ KUKA ในบริเวณใกล้เคียง

ค้นหาพันธมิตรที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือปัญหาของคุณได้ที่นี่

คุณอาจสนใจบทความนี้