เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

สถานที่

กรุณาเลือกภาษา:

ประสิทธิภาพสูงขึ้นจากการประกอบชิ้นส่วนขณะถูกลำเลียงบนสายพาน

ด้วยการประกอบชิ้นส่วนขณะถูกลำเลียงบนสายพาน KUKA ทำให้การทำงานแขนงใหม่ในการประกอบชิ้นส่วนยานยนต์เป็นระบบอัตโนมัติสำหรับผู้ผลิตยานยนต์


ผู้ผลิตยานยนต์มองหาโซลูชั่นเพื่อจะเพิ่ม ประสิทธิภาพในการประกอบชิ้นส่วนบนสายพาน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มนุษย์เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมประกอบชิ้นส่วนบนสายพาน เพื่อที่จะเพิ่มระดับการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ จะต้องมีการพัฒนาโซลูชั่นระบบอัตโนมัติที่มนุษย์กับหุ่นยนต์จะแชร์พื้นที่ทำงานร่วมกันในพื้นที่แคบ สามารถทำให้งานประกอบชิ้นส่วนบางอย่างที่มีขั้นตอนกระบวนการทำงานซ้ำ ๆ เป็นระบบอัตโนมัติได้อย่างง่ายดาย เช่น การวัดช่องว่าง การประกอบยางรถหรือฝากระโปรงหลัง รวมถึงการประกอบแผ่นกระจกหรือหลังคา เป็นต้น แต่ความท้าทายอยู่ที่การนำ แอปพลิเคชั่นที่สามารถทำงานร่วมกันได้ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์อย่างปลอดภัยมาใช้จริงซึ่ง หุ่นยนต์สามารถปรับให้เหมาะกับความเร็วของระบบสายพานและประสานการทำงานได้

การเพิ่มประสิทธิภาพบนสายพาน

สายพานในโรงงานประกอบชิ้นส่วนของผู้ผลิตยานยนต์จะเคลื่อนที่ตัวถังรถที่ประกอบแล้วบางส่วนไปตามเส้นทางสายการผลิตขณะที่คนงานประกอบชิ้นส่วนจะประกอบชิ้นส่วนอื่น ๆ เป็นช่วงจังหวะ หรือทำการตรวจสอบคุณลักษณะด้านคุณภาพ ความเร็วของสายพานถูกปรับให้เหมาะกับช่วงจังหวะของมนุษย์เพื่อที่จะสามารถทำการประกอบชิ้นส่วนหรือการแก้ไขปรับปรุงชิ้นส่วนประกอบบนสายพานที่วิ่งอยู่ได้ มนุษย์และหุ่นยนต์ต้องทำงานร่วมกันเพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพบนสายพาน หุ่นยนต์โครงสร้างเบาที่ตอบสนองไว KUKA LBR iiwa เหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานประเภทนี้เนื่องจากสอดคล้องกับ ข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสูงสุด และสามารถตอบสนองต่อการสัมผัสแต่ละครั้งของคนงานโดยทันทีและปรับให้เหมาะกับสถานการณ์ได้

การออกแบบที่สมบูรณ์แบบของผู้ช่วยการทำงานอัจฉริยะอย่าง KUKA LBR iiwa คุณสมบัติการตอบสนองไว รวมถึงการรับรู้การชนปะทะจะรับประกันการทำงานอย่างปลอดภัยในการทำงานร่วมกันโดยตรงกับมนุษย์โดยไม่มีรั้วป้องกัน

Christian Landherr หัวหน้าฝ่ายงานประกอบชิ้นส่วนและงานสีขั้นตอนสุดท้ายของ KUKA

สายพานและหุ่นยนต์ประสานการทำงานร่วมกัน

แขนหุ่นยนต์แบบ 7 แกนติดตั้งอยู่บนอุปกรณ์ถอนกลับที่ปลอดภัยเพื่อจะเพิ่มพื้นที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ให้คนงานประกอบชิ้นส่วน มนุษย์สามารถเลื่อนหุ่นยนต์โครงสร้างเบาไปทางด้านข้างได้อย่างง่ายดายในกรณีที่เกิดการทำงานขัดข้อง „นอกจากนี้ การตอบสนองไวของ Cobots จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างยืดหยุ่นบนสายพานเนื่องจากมีการรักษาสมดุลค่าความคลาดเคลื่อน“ Landherr กล่าว สายพานจะไม่ทำงานได้อย่างคงที่อย่างสมบูรณ์ สายพานจะมีการหน่วงเวลาเรื่อย ๆ หรือหยุดทำงานเพราะจำเป็นต้องให้คนงานเข้าแทรกแซงการทำงาน ในกระบวนการทำงานระบบอัตโนมัติทั่วไป จะต้องทำการปรับเทียบหุ่นยนต์อีกครั้งขณะที่สายพานหยุดก่อนจะยอมรับการทำงานอีกครั้ง แต่ไม่ใช่กับ KUKA LBR iiwa
หุ่นยนต์โครงสร้างเบาที่ตอบสนองไว KUKA LBR iiwa

ซอฟต์แวร์ควบคุมแบบอัจฉริยะ ของ KUKA จะช่วยให้หุ่นยนต์โครงสร้างเบาสามารถทำการเชื่อมต่อกับสายพานหรือรถเข็นประกอบชิ้นส่วนได้อย่างคงที่และให้ข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับความเร็วและตำแหน่ง ซอฟต์แวร์ควบคุมจะส่งข้อมูลที่บันทึกไว้เกี่ยวกับตำแหน่งและความเร็วที่แน่นอน ของรถเข็นประกอบชิ้นส่วนบนสายพานไปยังหุ่นยนต์โครงสร้างเบาโดยตรง หุ่นยนต์ที่ตอบสนองไวนี้สามารถปรับกิจกรรมการทำงานให้เหมาะกับการทำงานบนสายพานได้อย่างยืดหยุ่น โดยใช้ข้อมูลนี้

„จะทำการวัดเมื่อเทียบกับชิ้นส่วนประกอบ หุ่นยนต์จึงสามารถทำการวัด ได้โดยอัตโนมัติเต็มรูปแบบในการทำงานบนสายพาน“ Otmar Honsberg หัวหน้าแผนกวิศวกรรมประยุกต์ของ KUKA ชี้แจง „เมื่อเทียบกับการวัดแบบเดิมที่ใช้หุ่นยนต์ การวัดด้วยวิธีนี้เป็นมูลค่าเพิ่มอย่างแท้จริง“ เมื่อทำงานร่วมกับ การตรวจจับเชิงแสง และ ระบบเซ็นเซอร์แบบสัมผัส หุ่นยนต์ KUKA LBR iiwa ที่ตอบสนองไว จึงปรับตัวให้เหมาะกับสถานการณ์ใหม่ ๆ โดยอัตโนมัติขณะที่มีการสั่นสะเทือนของสายพานหรือสายพานหยุดทำงานและดำเนินงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

โซลูชั่น „Assembly in Motion“ ทำให้หุ่นยนต์กลายเป็นชุดอุปกรณ์จัดวางตำแหน่งแบบอัจฉริยะสำหรับเครื่องวัด

Otmar Honsberg หัวหน้าแผนกวิศวกรรมประยุกต์ของ KUKA

สมรรถนะสูงสุดในพื้นที่แคบที่สุด

ตัวอย่างเช่น ที่สถานีการดำเนินงานหนึ่ง หุ่นยนต์สองถึงสี่ตัวสามารถวัดขนาดช่องว่างและความเรียบเสมอกันของชิ้นส่วนประกอบของตัวถังรถและทำการตรวจสอบในเวลาเดียวกันได้ อาทิเช่น ระหว่างฝากระโปรงท้ายและแผงด้านข้างหรือระหว่างไฟหน้าและฝากระโปรงห้องเครื่อง เป็นต้น ในขณะที่คนงานจะทำการทดสอบคุณภาพเพิ่มเติมของตัวถังรถไปพร้อมกัน สามารถรวมหัววัดเข้ากับการใช้งานที่สามารถวัดขนาดช่องว่างที่แน่นอนในบริเวณพื้นที่ไฟหน้าโดยใช้เทคโนโลยีเลเซอร์แม้กระทั่งบนวัสดุโปร่งใส เช่น แก้วหรือพลาสติก เป็นต้น เมื่อมีการร้องขอได้

การขยายจุดปฏิบัติงานอย่างรวดเร็วและง่ายดาย

ความต้องการพื้นที่ลดลงสูงสุดยังเป็นข้อดีอีกประการของ โซลูชั่น “Assembly in Motion” ที่ตอบสนองไว เมื่อเทียบกับการวัดโดยหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบบเดิม หุ่นยนต์อุตสาหกรรมต้องการใช้พื้นที่มากกว่าเนื่องจากมีอุปกรณ์นิรภัยที่จำเป็น ในทางตรงกันข้าม หุ่นยนต์โครงสร้างเบาที่ตอบสนองไว KUKA LBR iiwa จะช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานได้ อย่างปลอดภัยในพื้นที่แคบที่สุด อยู่ภายในพื้นที่การทำงานเดียวกันได้ นอกจากนั้นยังสามารถทำการขยายจุดปฏิบัติงานในการวัดได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วในภายหลังเนื่องจากมีวิธีการกำหนดค่าล่วงหน้ามากมายและความต้องการพื้นที่น้อยของหุ่นยนต์โครงสร้างเบาในทางตรงกันข้ามกับการผสานรวมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มเติม

การวัดช่องว่างในการทำงานบนสายพานด้วยหุ่นยนต์โครงสร้างเบาที่ตอบสนองไว KUKA LBR iiwa

ความเชี่ยวชาญในกระบวนการจะช่วยให้สามารถทำการประมวลผลข้อมูลได้อย่างอัจฉริยะ

ผลลัพธ์ของจุดปฏิบัติงานวัดช่องว่างด้วยเทคโนโลยี „Assembly in Motion“ เป็น ค่าจากการวัดที่เชื่อถือได้ของตัวถังรถที่เคลื่อนที่ และเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพอย่างชัดเจน เมื่อเทียบกับการวัดโดยใช้คนงานที่ดำเนินการมายังปัจจุบัน ในอนาคต จุดปฏิบัติงานวัดด้วยระบบอัตโนมัติในการทำงานบนสายพานจะช่วยให้สามารถสรุปข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการผลิตได้ก่อน: „ถ้าหุ่นยนต์ทำการวัดการเปลี่ยนแปลงขนาดช่องว่าง ก็จะสามารถบ่งชี้สาเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับระบบโลจิสติกส์กระบวนการที่ติดตั้งอย่างเหมาะสมได้อย่างอิสระ“ Honsberg กล่าว ตัวอย่างเช่น สามารถทำการตรวจจับการสึกหรอก่อนกำหนดของเครื่องจักรหรือการตั้งค่าไม่ถูกต้องในการผลิตก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต „ด้วยความเชี่ยวชาญในกระบวนการแบบรอบด้าน เรามีความพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลมากมายที่ได้มาจากการประกอบชิ้นส่วนด้วยระบบอัตโนมัติอย่างสมเหตุสมผลและมีปฏิกิริยาตอบสนองในเชิงรุก“

ค้นหาพันธมิตรระบบของ KUKA ในบริเวณใกล้เคียง

ค้นหาพันธมิตรที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือปัญหาของคุณได้ที่นี่

คุณอาจสนใจ