Division Digital Factory (DF) สนับสนุนธุรกิจที่มีการผลิตทั่วโลกด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อเนกประสงค์ รวมถึงการให้บริการด้วยเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้น Siemens ดำเนินธุรกิจโรงงานแบบ Lead Factory สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าที่โรงงานในเมือง บาด นอยชตัดต์ อัน แดร์ ซาเล มีการผลิตมอเตอร์สำหรับหุ่นยนต์ของ KUKA จำนวนมากมายที่นั่น
Lead Factory เป็นตัวอย่างนวัตกรรมสำหรับเทคโนโลยีชั้นสูงจากประเทศเยอรมนีที่เกิดจากความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้ามากกว่าแสนตัวและพนักงานราว 1,700 คน ปัจจุบัน Siemens สนับสนุนการผลิตมอเตอร์ในเมือง บาด นอยชตัดต์ด้วยหุ่นยนต์น้ำหนักเบา LBR iiwa ของ KUKAที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งสามารถทำงานร่วมกันกับมนุษย์ได้ที่โรงงาน Lead Factory
ระบบอัตโนมัติในการจัดการกับชิ้นงาน
ในกรอบของการผลิตสเตเตอร์ Siemens ได้มองหาโซลูชั่นที่ยืดหยุ่นสำหรับโรงงานที่ตั้งอยู่ในเมือง บาด นอยชตัดต์ เพื่อที่จะจัดการงานไม่ซับซ้อนในการส่งต่อและจัดวางชิ้นงานที่ยังต้องใช้แรงงานคนให้เสร็จด้วยระบบอัตโนมัติ โดยที่ยังรักษาคุณภาพสูงและให้มนุษย์เข้าถึงห้องปฏิบัติการได้ตลอดเวลาไม่มีข้อจำกัด
KUKA LBR iiwa ทำงานอัตโนมัติและสอดคล้อง
Siemens ได้พัฒนาเซลล์การทำงานแบบยืดหยุ่นด้วย หุ่นยนต์น้ำหนักเบา LBR iiwa ของ KUKAด้วยการร่วมมือกับบริษัท KUKA Systems GmbH ในเมืองเอาส์กบวร์กและหน่วยธุรกิจ Advanced Technology Solutions ในโรงงานของ Siemens ที่เมืองบาด นอยชตัดต์ หุ่นยนต์ดังกล่าวทำหน้าที่เป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานหลายอย่างพร้อมกันอยู่บนโครงในการนำชิ้นส่วนสำหรับกระบวนการออกจากแผงชิ้นงาน - สเตเตอร์ประกอบด้วยตัวโครงหลักหนึ่งโครงทำจากแผ่นโลหะไฟฟ้าตอกเข้าด้วยกันและฝากั้นอลูมิเนียม- และป้อนเข้าไปยังเครื่องหมุน ซึ่งทำหน้าที่ตัดโลหะของสเตเตอร์
ไม่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีการใช้หุ่นยนต์เพื่อตรวจสอบคุณภาพด้วย หุ่่นยนต์จะจับชิ้นส่วนที่ผ่านกระบวนการเสร็จแล้วมาทำการสแกนบาร์โค้ด หลังจากเป่าทำความสะอาดชิ้นงานแล้ว หุ่นยนต์จะนำชิ้นงานนั้น ๆ ใส่เข้าไปในเครื่องจับเอียงของสถานีสำหรับวัด
เพื่อทำการตรวจสอบหาความคลาดเคลื่อนที่อาจเกิดขึ้น เทคโนโลยีโครงข่ายจะช่วยให้ทำการคำนวณค่าแก้ไขที่จำเป็นโดยทำการวัดอย่างแม่นยำและระบุชิ้นส่วนประกอบแต่ละตัว ซึ่งจะใช้ได้จริงในระบบ ในแง่ของแนวคิด Industrie 4.0 ระบบจะจัดระเบียบเองทั้งหมด หลังจากนั้น หุ่นยนต์จะนำชิ้นส่วนไปในไว้ลังพลาสติกเพื่อให้ส่งต่อไป ชิ้นส่วนที่ต้องทำการปรับเทียบใหม่ในเครื่องจักร จะเข้าไปอยู่ในที่เก็บชั่วคราว ซึ่งถูกกำหนดไว้เป็นโซน HRC สำหรับความร่วมมือระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์ คนงานสามารถอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ได้ในเทคโนโลยีที่ปลอดภัย และในกรณีที่จำเป็น ให้นำชิ้นงานบางส่วนออกหรือเปลี่ยนแปลง
ไม่มีรั้วป้องกันเนื่องจากใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ตอบสนองไว
เนื่องจากควาามสามารถในการตอบสนองไว้ จึงมีการกำหนดให้หุ่นยนต์ LBR iiwa น้ำหนักไม่ถึง 30 กก.ที่ Siemens ใช้มีไว้สำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร แกนหกแกนทำให้หุ่นยนต์ทั้งยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวไปมาได้ดีกว่าหุ่นยนต์รุ่นที่เหมือนกันส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกัน เซนเซอร์แรงบิดในทั้งหกแกนยังช่วยให้หุ่นยนต์ตัวนี้ตอบสนองไว มันยังสามารถตรวจจับสิ่งกีดขวางในพื้นที่และมีปฏิกิริยาตอบสนองได้ด้วย KUKA พิสูจน์แล้วว่าระบบการทำงานอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์และความยืดหยุ่นสูงไม่ขัดแย้งกัน การร่วมมือกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์เป็นไปได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ตอบสนองไว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ครอบและระบบเซนเซอร์เสริมในการตรวจจับชิ้นส่วน
โซลูชั่นยืดหยุ่นประสบผลสำเร็จ
ดังนั้น เราจึงตัดสินใจเลือกหุ่นยนต์น้ำหนักเบาที่ยืดหยุ่น LBR iiwa และโซลูชั่นเคลื่อนที่ของ KUKA ด้วย "แนวคิดการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน" เพื่อสามารถใช้หุ่นยนต์ได้ตามแต่สถานการณ์หรือย้ายออกได้สะดวก ทอร์สเทน ฟรานซ์ ผู้จัดการโครงการในทีมพัฒนาเทคโนโลยี พูดเสริม: "การใช้งานแบบ HRC ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับเรา เราต้องการเรียนรู้ระบบใหม่ด้วยตัวเองและพัฒนาต่อไปทีละขั้น โครงการความร่วมมือกับ KUKA ประสบผลสำเร็จอย่างสูง โซลูชั่นเป็นที่ยอมรับมาก"