SAACKE พยายามจะย่นเวลาหมุนสับเปลี่ยนชิ้นงานให้สั้นลงในการประกอบเครื่องลับคมรุ่น UW I F ด้วยชิ้นงานที่ต่างกัน ดังนั้น บริษัทจึงตัดสินใจเลือกระบบอัตโนมัติที่ทำงานด้วยหุ่นยนต์สำหรับกระบวนการลับคม ปัจจุบัน หุ่นยนต์ของ KUKA ในซีรีส์หุ่นยนต์ขนาดเล็ก
KR AGILUS ที่มีโครงสร้างกันน้ำ ช่วยให้ส่งต่อและนำชิ้นงานออกอย่างรวดเร็วแม่นยำ อีกทั้งยังช่วยย้ายชิ้นงานออกจากเครื่องจักรลบคมได้อย่างเหมาะสม
เน้นที่ความแม่นยำและความเร็ว
"เรามองหาโซลูชั่นอัตโนมัติที่ทำงานรวดเร็วและแม่นยำสำหรับเครื่องลับคมเครื่องมือรุ่น UW I F ควรจะผสานรวมหุ่นยนต์ที่ดำเนินงานต่าง ๆ ได้เข้ากับระบบเพื่อรับประกันความยืดหยุ่นสูงสุดได้" แกร์ฮาร์ด คอปป์ ผู้จัดการแผนกออกแบบโครงสร้าง/กลุ่มธุรกิจเครื่องจักรของ SAACKE อธิบาย ในระหว่างที่ค้นหาพันธมิตรที่เหมาะสม SAACKE จึงตัดสินใจเลือก KUKA
หุ่นยนต์ KUKA KR AGILUS ช่วยให้ส่งต่อและนำชิ้นงานออกอย่างรวดเร็วแม่นยำ
การวางแนวคิดระบบอัตโนมัติแบบครบวงจร ได้รวมทั้งแผนกออกแบบโครงสร้าง ลูกค้าสัมพันธ์และไอทีเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นการรับประกันว่ากระบวนการทำงานสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และมีการใช้งานระบบได้ง่าย
ผู้พัฒนาต้องคำนึงถึงแง่มุมพิเศษต่าง ๆ เกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างของระบบ หุ่นยนต์ประกอบด้วยแขนจับแบบคู่หนึ่งชุด เพื่อให้การทำงานเสร็จสมบูรณ์ได้ภายในรอบเวลาที่กำหนด จึงมีการพัฒนาโปรแกรมเป็นพิเศษ ด้วยโปรแกรมนี้ สามารถทำการเทชิ้นงานออกจากแผงชิ้นงานและบรรจุชิ้นงานเข้าไปได้ในขั้นตอนเดียว ปัจจัยสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ
นอกจากนั้น เซลล์หุ่นยนต์ยังถูกออกแบบให้สามารถดัดแปลงไปใช้กับชิ้นงานอื่น ๆ ได้โดยไม่มีปัญหา "การผสานรวมหุ่นยนต์เข้ากับลำดับขั้นตอนการทำงานของเครื่องจักรไม่เพียงต้องการการปรับฝาครอบเครื่องจักรให้เหมาะสม แต่ยังต้องการการพัฒนาอินเทอร์เฟสที่เหมาะสมระหว่างระบบควบคุมหุ่นยนต์และเครื่องจักรด้วย" นายค็อปป์อธิบายเพิ่มเติมเรื่องความท้าทายที่เอาชนะได้สำเร็จ
การป้อนชิ้นงานและการนำชิ้นงานออกด้วยมือจับสองอัน
หุ่นยนต์ KUKA KR 6 R900 sixx WP หกแกนจะหยิบชิ้นงานที่ผ่านกระบวนการในเซลล์หุ่นยนต์ออกจากพาเลท ตัวอย่างเช่น ใบมีดสอดแบบเปลี่ยนได้หรือด้ามจับเครื่องมือ ใบมีดสอดแบบเปลี่ยนได้จะติดตั้งไว้บนสลักหนึ่งอัน จากนั้นมันจะนำชิ้นงานมาไว้ด้านหน้าประตูที่จะเปิดออกโดยอัตโนมัติ
แขนของหุ่นยนต์ก็จะเคลื่อนผ่านประตูที่เปิดออกสู่เครื่องเจียรที่อยู่อีกด้าน ซึ่งขณะที่เครื่องเจียรเริ่มทำงานเราก็จะได้ชิ้นงานที่ถูกขึ้นรูปแล้ว หุ่นยนต์จะนำชิ้นงานนั้นออกมาด้วยมือจับที่ 2 และหลังจากนั้นจะหมุนแขนกลด้วยความเร็วเพื่อเอาชิ้นงานอันใหม่ใส่เข้าไป
กระบวนการขึ้นรูปชิ้นงานอันใหม่ด้วยเครื่องเจียระไนประเภท UW I F ก็จะเริ่มขึ้น ขณะเดียวกันแขนกลนั้นก็หดกลับเข้ามาในแถบแท่นที่ตั้ง ชิ้นงานที่ถูกขึ้นรูปแล้วก็จะถูกเป่าด้วยลมเพื่อทำความสะอาดและจัดเรียงใส่ถาด ก่อนที่หุ่นยนต์จะไปหยิบชิ้นงานใหม่เพื่อไปทำการเจียรต่อไป และกระบวนการทำงานก็จะวนซ้ำเหมือนกับก่อนหน้าจากนั้นหุ่นยนต์จะกลับมาที่จุดเริ่มต้น
การใช้งานที่ต้องการความละเอียดรอบคอบสูงสำหรับกระบวนการผลิตที่สมบูรณ์แบบ
ตั้งแต่มิถุนายน 2015 มีการเริ่มใช้งานเซลล์ด้วยหุ่นยนต์ KUKA KR 6 R900 sixx WP สำหรับลูกค้าของ SAACKE หุ่นยนต์ในซีรีส์ KR AGILUS มีน้ำหนักบรรทุก 6 กิโลกรัมและทำงานด้วยความแม่นยำสูงด้วยใบมีดสอดน้ำหนักเบาเพียงไม่กี่กรัมและด้ามจับเครื่องมือที่หนัก 2.5 กิโลกรัม
หุ่นยนต์มีระยะยืด 900 มม. ที่ครอบคลุมช่วงการทำงานทั้งหมด มีการใช้งานหุ่นยนต์ขนาดเล็กรุ่นที่ทนทานกันน้ำในเซลล์ดังกล่าว หุ่นยนต์รุ่นนี้มีฝาครอบทำจากสแตนเลสสตีลอย่างดี มีการป้องกันพื้นผิวด้านนอกให้ทนทาน อีกทั้งยังมีปะเก็นเสริมที่อยู่ด้านใน ซึ่งทำให้สามารถใช้งานในเครื่องจักรกลได้
KUKA KR AGILUS ได้รับการออกแบบให้กันน้ำได้ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในเครื่องจักรกล
ซึ่งจะป้องกันการแทรกซึมของน้ำมันหล่อเย็น (CF) และน้ำมันเจียรเข้าไปในหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นเหตุผลข้อสำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจของ SAACKE ในการเลือกหุ่นยนต์ KR AGILUS WP ที่ตอบโจทย์ระดับการป้องกัน IP 67 ที่สูง "แม้ว่าหุ่นยนต์จะไม่อยู่ในรัศมีของน้ำมันหล่อเย็นโดยตรง แต่ในห้องปฏิบัติการจะมีไอจากน้ำมันหล่อเย็นหรือน้ำมันได้ในระหว่างการเปลี่ยนชิ้นงาน" ค็อปป์อธิบาย ดังนั้น หากไม่มีอุปกรณ์ป้องกันพิเศษ อาจจะเกิดความเสียหายขึ้นกับปะเก็น ท่อหรือระบบตรวจวัดได้
โซลูชั่นที่ทำงานด้วยหุ่นยนต์แม้แต่สำหรับเครื่องเจียระไนเครื่องอื่น ๆ ของ SAACKE
SAACKE ได้เปิดตัวนำร่องระบบอัตโนมัติที่ทำงานด้วยหุ่นยนต์แล้วในงานแสดงสินค้า EMO 2015 ที่มิลาน "ปฏิกิริยาเชิงบวกของลูกค้าเราเป็นการยืนยันว่า ข้อเสนอนี้ช่วยเติมเต็มประวัติการทำงานของเราได้อย่างมีนัยสำคัญ" นายค็อปป์กล่าวสรุป หุ่นยนต์ให้ผลลัพธ์ตามความคาดหวังของ SAACKE เกี่ยวกับความเร็วและความยืดหยุ่นได้อย่างสมบูรณ์
การทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ของ KUKA ช่วยให้ใช้ประโยชน์จากเครื่องจักรดีมากขึ้นอย่างชัดเจน
Chip to Chip Time ที่สั้นลงหรือ ระยะเวลาที่กำหนดในการนำเครื่องมือหนึ่งออกไปใช้อีกเครื่องมือหนึ่งในตำแหน่งการทำงานเดียวกัน ตามกฎข้อบังคับของสมาคมวิศวกรรมแห่งเยอรมนี VDI-Richtlinie 2852 ทำให้มีการใช้ประโยชน์ของเครื่องจักรดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการใช้งานเครื่องจักรก็ลดลงอย่างมาก
"โซลูชั่นนี้ทำให้การผลิตชิ้นงานแบบชุดใหญ่เป็นไปได้จริงโดยไม่มีปัญหา" นายค็อปป์กล่าวปิดท้าย ดังนั้น SAACKE จึงวางแผนในการนำเอาระบบอัตโนมัติด้วยหุ่นยนต์มาปรับใช้กับเครื่องจักรประเภทอื่น ๆ ด้วยในอนาคต ตัวอย่างเช่น การควบรวมฟังก์ชั่นการทำงานอื่น อาทิ การสลักชื่อบนชิ้นงานด้วยเลเซอร์ ก็เป็นไปได้