เลือกตำแหน่งที่ตั้งของคุณ:

ประเทศ

กรุณาเลือกภาษา:

โรงพยาบาล 4.0: หุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการ KUKA ทำการจำแนกประเภทตัวอย่างเลือดกว่า 3,000 ตัวอย่างต่อวัน

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Aalborg ในเดนมาร์กใช้ระบบซึ่งประกอบด้วยหุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการและกล่องลำเลียงอัจฉริยะในการตรวจสอบและจำแนกตัวอย่างเลือดโดยอัตโนมัติ การใช้งานระบบ Pick&Place เช่นนี้ช่วยลดภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและทำให้พวกเขามีเวลาให้กับงานที่สำคัญกว่านี้


หุ่นยนต์สำหรับระบบอัตโนมัติในห้องปฏิบัติการทำให้กระบวนการง่ายขึ้นและรับประกันคุณภาพ

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Aalborg เป็นโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในนอร์ทจัทแลนด์ ประเทศเดนมาร์ก มีตัวอย่างเลือดถูกส่งมาที่ห้องปฏิบัติการกว่า 3,000 ตัวอย่างในแต่ละวัน ผลเลือดนี้ต้องถูกทดสอบและจำแนกประเภท - ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเจและต้องการเวลามากที่ดำเนินการด้วยเจ้าหน้าที่มาโดยตลอด ปัจจุบัน โรงพยาบาลได้เปลี่ยนกระบวนการนี้เป็นการทำงานระบบอัตโนมัติ: หุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการสองตัวและกล่องลำเลียงอัจฉริยะช่วยรับรองคุณภาพของตัวอย่างและแสดงให้เห็นว่าสามารถทำให้กระบวนการทำงานต่าง ๆ ในโรงพยาบาลง่ายขึ้นโดยระบบอัตโนมัติได้อย่างไร
หุ่นยนต์ KUKA ซีรี่ส์ KR AGILUS ทดสอบและจำแนกประเภทเลือดจากตัวอย่างกว่า 3,000 ตัวอย่างต่อวัน

แขนหุ่นยนต์สำหรับการจำแนกประเภทตัวอย่างเลือดช่วยลดภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและทำให้เกิดความปลอดภัย

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทำการเปิดกล่องลำเลียงที่เข้ามา เอาตัวอย่างเลือดออกจากกล่อง และนำไปจำแนกสำหรับการวิเคราะห์ทางคลินิกต่อไป เนื่องด้วยจำนวนกล่องที่มาก เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลได้ทำการร้องเรียนบ่อยครั้งเรื่องการบาดเจ็บเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ ซึ่งมีผลมาจากการทำงานซ้ำ ๆ “เราต้องการเปลี่ยนกระบวนการดังกล่าวเป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อลดภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ของเรา Annebirthe Bo Hansen หัวหน้าแผนกในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Aalborg กล่าว “นอกจากนี้เรายังได้พยายามหาวิธีเพื่อควบคุมคุณภาพและอุณหภูมิของตัวอย่างเลือดให้ดีขึ้น”
การสนับสนุนจากหุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการทำให้เจ้าหน้าที่มีเวลามากขึ้นสำหรับงานของพวกเขา 

หุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการ KUKA และเครื่องบันทึก RFID ช่วยให้สามารถรับประกันคุณภาพได้

เพื่อปรับกระบวนการให้เหมาะสม LT Automation และ Intelligent Systems ได้ร่วมพัฒนาโซลูชั่นหุ่นยนต์ รวมถึงนวัตกรรมกล่องลำเลียงขึ้น ในการใช้งานระบบ Pick&Place มีการติดตั้ง หุ่นยนต์ KUKA ซีรี่ส์ KR AGILUS สองตัว ตัวหนึ่งเป็นรุ่น KR 3 และอีกตัวรุ่น KR 10 “มีเหตุผลหลายประการในการเลือกใช้หุ่นยนต์ KUKA” Lasse Thomsen CEO ของ LT Automation กล่าว: “หุ่นยนต์มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขตั้งต้นทางเทคนิคที่จำเป็น นอกจากนี้รูปลักษณ์ภายนอกสีขาวทำให้มีความสอดคล้องกับรูปลักษณ์ที่คาดหวังในสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ“ 
ความพิเศษของ “กล่องลำเลียงอัจฉริยะ” อยู่ี่ที่เครื่องบันทึกข้อมูล RFID ที่รวมในตัว ซึ่งสามารถใช้ในการติดตามเส้นทางการลำเลียงของกล่องแต่ละใบได้ นอกจากนี้ เครื่องบันทึกยังทำการบันทึกว่าภายในกล่องมีอุณหภูมิใดที่เวลาเท่าไร ปัจจัยที่สำคัญ ตามที่ Annebirthe Bo Hansen ชี้แจง: “เพื่อที่จะประกันคุณภาพของตัวอย่างเลือด อุณหภูมิจะต้องคงที่อยู่ที่ 21°C โดยสามารถมีความคลาดเคลื่อนสูงสุดเพียง +/- 1°C เท่านั้น” 
กล่องลำเลียงอัจฉริยะทำการบันทึกอุณหภูมิของตัวอย่างเลือด ซึ่งหุ่นยนต์ KUKA จะทำการอ่านออกมา

เทคโนโลยีใหม่นี้ช่วยให้เราค้นหาและแก้ไขแหล่งที่มาของข้อผิดพลาดได้ ซึ่งนับเป็นการพัฒนาก้าวสำคัญ

Annebirthe Bo Hansen หัวหน้าแผนกในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Aalborg

ตัวอย่างเลือดเดินทางมาไกลกว่าจะถึงห้องปฏิบัติการ

ตัวอย่างเลือดจะถูกนำไปใช้ในการปฏิบัติทางการแพทย์ทั่วไปในบริเวณใกล้เคียงของโรงพยาบาล ในการรับตัวอย่างเลือด คนขับรถส่งของจะสแกนกล่อง เพื่อทำให้สามารถติดตามเส้นทางการขนส่งได้ เขานำตัวอย่างเลือดไปส่งที่โรงพยาบาล ซึ่งกล่องเหล่านี้จะถูกสแกนและลงทะเบียนอีกครั้ง
เจ้าหน้าที่จะวางกล่องลำเลียงอัจฉริยะลงบนสายพานลำเลียงของระบบหุ่นยนต์

หุ่นยนต์สำหรับระบบอัตโนมัติในห้องปฏิบัติการจะคัดกรองตัวอย่างเลือดที่ถูกส่งมาผิดออก

ในห้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่จะวางกล่องลำเลียงลงบนสายพานลำเลียงของระบบหุ่นยนต์ ในช่วงเวลานี้เครื่องสแกน RFID ที่ถูกติดตั้งไว้ในห้องจะทำการอ่านข้อมูลออกมา “หากเครื่องสแกนตรวจพบว่าอุณหภูมิของกล่องเบี่ยงเบนไปจากอุณหภูมิที่กำหนดไว้ตลอดเวลาในระหว่างการเดินทาง เครื่องจะส่งข้อมูลไปยังหุ่นยนต์โดยอัตโนมัติ” Lasse Thomsen อธิบาย
“หุ่นยนต์จะคัดกรองกล่องที่เกี่ยวข้องออกจากระบบ เพื่อส่งให้ไปยังที่ทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ “เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้ตัดสินใจว่าตัวอย่างเลือดยังใช้งานได้หรือไม่

ประสิทธิภาพ: แขนหุ่นยนต์สามารถทำการจำแนกประเภทกล่องลำเลียงตัวอย่างเลือดได้สี่สิบกล่องต่อชั่วโมง

หากเครื่องบันทึกข้อมูลไม่แสดงค่าอุณหภูมิที่ผิด หุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการตัวแรกจะทำการเปิดกล่อง นำตัวอย่างเลือดออก และนำไปจัดวางเพื่อการจำแนกประเภท หุ่นยนต์ตัวที่สองทำการจำแนกหลอดแก้วตามสีของจุกฝาโดยใช้ข้อมูลจากเครื่องสแกน ตัวอย่างที่เรียงไว้ล่วงหน้าจะถูกส่งออกจากระบบเพื่อให้เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสามารถทำการตรวจเลือดได้ โดยเฉลี่ยแล้ว ระบบต้องใช้เวลา 1.5 นาที ต่อกล่องและสามารถจัดการได้ถึงสี่สิบกล่องภายในหนึ่งชั่วโมง
แขนหุ่นยนต์สำหรับการจำแนกประเภทตัวอย่างเลือดทำการจำแนกหลอดแก้ว

หุ่นยนต์ห้องปฏิบัติการทำให้บุคลากรมีเวลามากขึ้นสำหรับงานที่สำคัญกว่าในชีวิตประจำวัน

“เรามีความพึงพอใจต่อโซลูชันนี้มาก” Annebirthe Bo Hansen กล่าวต่อ “สภาพแวดล้อมการทำงานและกระบวนการทำงานมีพัฒนาการอย่างมาก” ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการจะมีเวลาสำหรับการวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดมากขึ้น อีกทั้งยังมีเวลาให้กับผู้ป่วยมากขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้แหล่งที่มาของข้อผิดพลาดที่เป็นไปได้ลดลงโดยการจัดเรียงอัตโนมัติและการควบคุมอุณหภูมิอย่างถาวร

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย Aalborg จึงเป็นผู้บุกเบิกเส้นทางสู่โรงพยาบาล 4.0 ด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่

Anders Kjergaard Madsen ผู้จัดการฝ่ายเทคนิคของ LT Automation

ระบบอัตโนมัติสามารถทำให้กระบวนการทำงานง่ายขึ้นและรับประกันคุณภาพในเวลาที่ขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะได้” ดังนั้น Lasse Thomsen จึงมองเห็นว่าโซลูชันหุ่นยนต์มีศักยภาพสูง: ระบบอัตโนมัติจึงเป็นที่น่าสนใจในแง่นี้หรือลักษณะที่คล้ายกันสำหรับโรงพยาบาลทุกแห่งที่มีห้องปฏิบัติการชีวเคมีคลินิก


ค้นหาพันธมิตรระบบของ KUKA ในบริเวณใกล้เคียง

ค้นหาพันธมิตรที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมหรือปัญหาของคุณได้ที่นี่