หากสามารถคาดการณ์อายุการใช้งานของส่วนประกอบหุ่นยนต์แต่ละชิ้นได้ ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงเวลาหยุดทำงานที่มีค่าใช้จ่ายสูงและการหยุดชะงักของการผลิตได้ นี่คือสิ่งที่กำลังศึกษาในโครงการวิจัย “Artificial Intelligence for Lifetime and Availability Prediction of Industrial Robots” (ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการคาดการณ์อายุการใช้งานและความพร้อมใช้งานของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมหรือ KIVI) ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจาก The Bavarian State Ministry of Economic Affairs, Energy and Technology (StMWi) โดยมีจุดประสงค์คือการตรวจสอบสภาพของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องและสามารถบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ได้ (Condition Monitoring และ Predictive Maintenance) เพื่อจุดประสงค์นี้ เซ็นเซอร์หลายตัวจะส่งลักษณะการสั่นสะเทือนในการดำเนินงานของส่วนประกอบแต่ละชิ้นของหุ่นยนต์ไปให้ก่อน ปัญญาประดิษฐ์จะใช้เพื่อประเมินข้อมูลที่เกี่ยวข้อง: โดยจะระบุรูปแบบของการเกิดสภาวะการสึกหรอและเรียนรู้รูปแบบพฤติกรรมจากสิ่งเหล่านี้ กล่องเครื่องมือ AI ต้นแบบ ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประเมินแล้วคือผลลัพธ์ที่จะได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ทันทีที่สามารถใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้ บริษัทผู้ผลิตจะสามารถเพิ่มความพร้อมใช้งานของระบบและทำให้กระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดทรัพยากรอีกด้วย
ข้อดีของการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเชิงป้องกันด้วย AI
เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว KUKA จึงมุ่งเน้นที่การสร้างคำอธิบายผลิตภัณฑ์และกระบวนการ รวมถึงพัฒนาการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ที่จำเป็นต่อการผลิตแต่ละครั้งจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องในโครงสร้างการจัดการ
BaSys 4.2: กระบวนการผลิตจะยืดหยุ่นยิ่งขึ้น
บริษัทที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยจะต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการหรือเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้ง ทั้งตัวกระบวนการเอง ทรัพยากรการผลิต รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่จะผลิต ดังนั้นจึงควรสามารถทำ “วิศวกรรมต่อเนื่อง” กระบวนการดังกล่าวได้ตลอดเวลา BaSys 4 สามารถพัฒนาระบบพื้นฐานสำหรับระบบการผลิตได้ ทำให้กระบวนการผลิตเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะนี้เรากำลังดำเนินโครงการ BaSys 4.2 ที่รับได้เงินสนับสนุนจาก Federal Ministry of Education and Research (BMBF) เพื่อปรับใช้องค์ประกอบโครงสร้างพื้นฐาน Industrie 4.0 เพิ่มเติมตามแนวคิดและมาตรฐานของแพลตฟอร์ม Industrie 4.0 เรากำลังมุ่งเน้นไปที่สามหัวข้อได้แก่ “มิดเดิลแวร์”, “ความสามารถ” และ “ระบบคอมพิวเตอร์เสมือน” เราต้องการพัฒนาแบบจำลองความสามารถที่ได้มาตรฐานเพิ่มเติมและนำระบบตรวจสอบความสามารถอัตโนมัติมาใช้งานจริง